Search
Close this search box.
รวม Error Code ที่พบเห็นได้บ่อยบนเว็บไซต์

รวม Error Code ที่พบเห็นได้บ่อยบนเว็บไซต์

Last updated 4 months ago,
1 mins read

สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้งาน Internet ท่องเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ คงจะเคยเห็นรหัสแปลกๆ กันมาบ้างไม่ว่าจะเป็นรหัส 404, 500, 502 หรืออื่นๆ รหัสเหล่านี้มีความหมายมันถูกเรียกชื่อว่า HTTP Status Code หรือ HTTP Response Code ครับ วันนี้ผมจะมารวบรวม Error Code ที่เราอาจจะพบเจอได้บ่อยๆ มาให้ได้รู้จักกันครับ

HTTP Status Code คืออะไร

HTTP Status Code คือ ตัวเลขชุดหนึ่ง ประกอบด้วยตัวเลข 3 ตัว ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีไว้เพื่อใช้ตอบกลับจากเซิฟเวอร์บนเว็บไซต์ต่างๆ โดยโค๊ดเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการบอกให้เรารู้ถึงสถานะ หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ หรือเซิฟเวอร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งผู้ใช้งาน และปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งผู้ใช้งาน

ปัญหาหลักๆ ที่เกิดจากฝั่งผู้ใช้งานมักจะแสดง HTTP Status Code ที่ขึ้นต้นด้วย 4xx สาเหตุที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะการพิมพ์ URL ผิด, การไม่มีสิทธ์ในการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้นๆ, การเชื่อมต่อที่นานเกินไป และอื่นๆ ซึ่ง HTTP Status Code ที่เรามักจะพบเจอจะมีดังนี้

401 (Unauthorized) 

401 หมายถึง หน้าเว็บที่เราจะเข้านั้นไม่สามารถแสดง และโหลดให้เสร็จได้จนกว่าเราจะทำการเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่ถูกต้อง แต่หากเราพึ่งกรอกข้อมูลไปแล้วยังแสดงผลเป็น 401 Error อยู่อีกก็แสดงว่าข้อมูลที่เรากรอกไปนั้นไม่ถูกต้องอาจเป็นไปได้ว่าเรากรอก Username หรือ Password ผิด, เราไม่มีบัญชีสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ หรือเราไม่มีสิทธิ์เข้าสู่เว็บไซต์นั้นๆ เป็นต้น

403 (Forbidden) 

403 หมายถึง หน้าของเว็บไซต์ที่เราพยายามเข้านั้นถึงขีดจำกัด หรือถูกห้ามไม่ให้เข้าถึง อธิบายง่ายๆ ก็คือ เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอะไรก็ตาม ที่เราต้องการให้มันแสดง

404 (Not Found) 

404 หมายถึง หน้าเว็บไซต์ที่เราพยายามจะเข้านั้นไม่มีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง Error Code นี้มักจะพบบ่อยที่สุด โดยปกติมักจะเห็นคำต่อไปนี้อยู่บ่อยๆ คือ The page cannot be found นั้นเอง

408 (Request Timeout) 

หมายถึงเราได้ส่งคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อโหลดหน้าเว็บ หรือทำอะไรบางอย่าง แต่เซิร์ฟเวอร์ไม่ตอบสนอง หรือส่งข้อมูลกลับมาในเวลาที่กำหนด นั่นหมายถึงว่า เราได้หมดเวลาการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ หรือใช้เวลานานในการเชื่อมต่อหน้าเว็บไซต์จนเกิดข้อผิดพลาดนี้ขึ้นมา

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์

ปัญหาหลักๆ ที่เกิดจากฝั้งเซิร์ฟเวอร์ที่มักจะแสดง HTTP Status Code ที่ขึ้นต้นด้วย 5xx ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้หลายอย่าง แต่ที่จะพบเจอกันบ่อยๆ จะมีดังนี้

500 (Internal Server Error)

500 หมายถึง มีบางอย่างผิดพลาดเกิดขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์ โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ซึ่ง 500 Internal Server Error เป็นข้อความที่หลายคนมักจะได้พบเจอบ่อยๆ

502 (Bad Gateway)

502 หมายถึง เซิร์ฟเวอร์หนึ่งได้รับการตอบสนองของข้อมูลแบบผิดพลาดมาจากอีกเซิร์ฟเวอร์หนึ่ง ในขณะโหลดหน้าเว็บเว็บไซต์นั้นๆ หรือก็คือปัญหาการรับส่งข้อมูลระหว่างกันของเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ต

503 (Service Unavailable)

503 หมายถึง เว็บไซต์ที่เราเข้าถึงนั้นไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้น 503 error มักจะเกิดจากเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักชั่วคราว หรือกำลังทำการซ่อมบำรุงเซิร์ฟเวอร์อยู่นั้นเอง

สรุป

HTTP Status Code ไม่เพียงแค่บอกสถานะ Error Code เท่านั้น แต่ยังมีการแจ้งสถานะอื่นๆ ให้เราทราบด้วย เช่น 201 (Created) ข้อมูลที่ร้องขอถูกเพิ่มเรียบร้อยแล้ว, 202 (Accepted) เซิฟเวอร์ได้รับ Request แล้ว แต่ยังทำงานไม่เสร็จ, 204 (No Content) เซิฟเวอร์ได้ทำงานที่ต้องการเสร็จแล้ว แต่ไม่ได้มีการตอบ Response Body กลับไป, 304 (Not Modified) สิ่งที่ Request ร้องขอไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่มีการร้องขอข้อมูลใหม่จากเซิฟเวอร์ เป็นต้น

อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_HTTP_status_codes

Tagged with:
ผู้เขียน
Danai Phianphutthikorn
Founder, Writer, Designer, Videography, YouTuber

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหา Code Editor อยู่แล้วละก็ ต้องไม่พลาดบทความนี้ครับ เพราะผมได้รวบรวม Code Editor ยอดนิยมมาฝากเพื่อนๆ กัน แถมใช้ได้ฟรีอีกต่างหาก
เพิ่มความปลอดภัยให้ CDN ผู้ให้บริการ Hosted Libraries ด้วย SRI ฟีเจอร์ความปลอดภัยที่จะช่วยให้ Browser สามารถตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ JS หรือ CSS
รวม CDN ผู้ให้บริการ Hosted Libraries ชื่อดัง สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นโดยเฉพาะ เพื่อช่วยปรับปรุง Performance เว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น
เขียน CSS ให้อ่านโค้ดได้ง่าย ลดความซ้ำซ้อนของโค้ดด้วย BEM CSS มาตรฐานการเขียน CSS ที่ช่วยให้โค้ดเป็นระเบียบ เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์
หลายคนคงจะเคยผ่านตากับหน่วยที่ใช้กำหนดขนาดที่เป็น px, em, rem และ vw กันมาบ้าง แต่รู้รึป่าวว่าพวกมันมีความแตกต่าง และใช้งานกันอย่างไร วันนี้เราจะมาดูกันครับ