Search
Close this search box.
5 โปรแกรมเขียนโค้ด (Code Editor) ฟรี! น่าใช้สำหรับนักพัฒนา

5 โปรแกรมเขียนโค้ดฟรี! น่าใช้สำหรับนักพัฒนา

Last updated 4 months ago,
1 mins read

Code Editor ถือเป็นอาวุธคู่ใจของเหล่า Developer หากเราได้เครื่องมือที่ดีตรงตามความต้องการก็จะช่วยให้การทำงานของเราสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ผมจะมาแนะนำโปรแกรม Code Editor ที่สามารถใช้งานได้ฟรี และรองรับทั้ง Mac และ Windows มาให้เพื่อนๆ ได้เลือกใช้กันครับ

Visual Studio Code

Visual Studio Code

Visual Studio Code หรือ VS Code เป็น Code Editor ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Microsoft ครับ โดยโปรแกรมตัวนี้ได้ตัดเอาความสามารถบางส่วนของ Visual Studio รุ่นปกติออกให้เหลือแค่ตัว Editor เพียงอย่างเดียว จึงทำให้โปรแกรมจึงมีขนาดเล็ก กระทัดรัด แต่ถึงกระนั้นก็ยังรองรับความต้องการระดับพื้นฐานของนักพัฒนาไว้อย่างเต็มรูปแบบไม่ว่าจะเป็นหน้าตา Editor ที่ดูเรียบง่าย สะอาดตา ภาษาโปรแกรมที่รองรับมากกว่า 100 ภาษา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) อีกทั้งยังมี Extension เสริมที่จะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับตัวโปรแกรม และรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกมากมาย ที่น่าสนใจ คือ โปรแกรมตัวนี้สามารถทำงานได้รวดเร็ว และสามารถทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มทั้งบน Windows, Mac และ Linux อีกด้วย

Notepad++

Notepad++

ถือเป็นเครื่องมือยอดนิยมของบรรดา Developer ที่จะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ สำหรับ Notepad++ มาพร้อมกับความสามารถที่ครบครันไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเติมคำสั่งให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ (Auto-Completion), ระบบช่วยทำไฮไลท์ หรือการ เปลี่ยนสีคำสั่ง (Syntax) เมื่อพิมพ์ถูก, สนับสนุนการลากแล้ววาง, สามารถตั้งเวลาสำรองข้อมูล และทำ Snapshot ได้อัตโนมัติ และอื่นๆ อีกมากมาย แถม Notepad++ ยังมีปลั๊กอินเสริม เพื่อการใช้งานเฉพาะทางได้หลากหลาย พร้อมระบบอัพเดทปลั๊กอินอัตโนมัติอีกด้วย สำหรับ Notepad++ รองรับทั้ง Windows และ Linux ครับ

Brackets

Brackets

Code Editor ที่เข้าใจหัวอก Web Designer มากที่สุด (คอนเซ็ปต์เขาว่างั้น) เพราะนอกจากจะเบาแล้ว ยังมี Feature ต่างๆ มากมายที่ตอบโจทย์ Web Design อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น Live Preview ที่เป็นการ Preview การเขียนไปพร้อมกับการแสดงผลบน Browser แบบ Real Time ประมาณว่าเราชี้ตรงไหน แก้ตรงไหน มันก็จะเปลี่ยนให้ทันทีโดยไม่ต้องทำการ Refresh หน้า, Extract (Preview) ที่จะเป็นตัวช่วยในการบอกรายละเอียดของไฟล์ PSD เช่น ค่าสี, ขนาดความยาว-สูง, Auto-Completion ที่จะช่วยให้การเขียนโค๊ดเป็นเรื่องที่สะดวกขึ้น และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมี Extension จากนักพัฒนาอื่นๆ มากมายให้เลือกใช้ สำหรับ Brackets รองรับทั้ง Mac, Windows และ Linux ครับ

Sublime Text

Sublime Text

อีกหนึ่ง Code Editor ที่โปรแกรเมอร์นิยมใช้เพราะนอกจากจะเบา เรียบง่าย และรองรับหลายภาษาแล้ว Sublime Text ยังมี Feature ที่ช่วยให้การเขียนโค๊ดสะดวกมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น Goto Anything รูปแบบการค้นหาที่รวดเร็ว, Multiple Selections การเลือกแก้ไขคำเดียวกันในครั้งเดียว, Auto-Completion ที่จะช่วยให้เขียนโค๊ดได้เร็วขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย Sublime Text นับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ไม่ควรมองข้าม

CotEditor

CotEditor

อีก 1 Code Editor สำหรับชาว macOS ที่ดูเรียบง่าย และมีขนาดเบาเหมาะสำหรับเครื่องที่มีสเปคไม่แรงมาก หากเปรียบกับ Windows ก็น่าจะใกล้เคียงกับโปรแกรม Notepad++ ที่หลายๆ คนคุ้นเคย สำหรับ CotEditor นั้นรองรับการเขียนมากกว่า 40 ภาษา อาทิเช่น HTML, CSS, PHP, Python, Ruby และ C++ นอกจากนี้ CotEditor ยังมี Feature ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก อาทิเช่น การ Split หน้าจอที่สามารถเขียนไฟล์อื่นพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน, Auto Backup ที่จะช่วยเซฟไฟล์ให้เราโดยอัตโนมัติ แต่ดูเหมือน CotEditor จะไม่มี Feature อย่าง Auto-Completion ซึ่งเป็นเรื่องยากกับ Web Design มือใหม่ที่ต้องจำรูปแบบการเขียนเองทั้งหมด

และนี่ก็คือโปรแกรม Code Editor น่าสนใจที่ผมอยากนำเสนอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบ และความถนัดของแต่ละท่านนะครับ ไม่มีอะไรที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุดเพราะแต่ละคนก็มีความชอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น เลือกสิ่งที่ใช่ และตอบโจทย์ตัวเองมากที่สุดก็แล้วกันครับ

ผู้เขียน
Danai Phianphutthikorn
Founder, Writer, Designer, Videography, YouTuber

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มความปลอดภัยให้ CDN ผู้ให้บริการ Hosted Libraries ด้วย SRI ฟีเจอร์ความปลอดภัยที่จะช่วยให้ Browser สามารถตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ JS หรือ CSS
รวม CDN ผู้ให้บริการ Hosted Libraries ชื่อดัง สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นโดยเฉพาะ เพื่อช่วยปรับปรุง Performance เว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น
เขียน CSS ให้อ่านโค้ดได้ง่าย ลดความซ้ำซ้อนของโค้ดด้วย BEM CSS มาตรฐานการเขียน CSS ที่ช่วยให้โค้ดเป็นระเบียบ เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์
หลายคนคงจะเคยผ่านตากับหน่วยที่ใช้กำหนดขนาดที่เป็น px, em, rem และ vw กันมาบ้าง แต่รู้รึป่าวว่าพวกมันมีความแตกต่าง และใช้งานกันอย่างไร วันนี้เราจะมาดูกันครับ